วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กีฬาลีลาศ




จัดทำโดยนางสาวนภัสสนันท์  พิธารัตนทิพย์ ม.6/2 เลขที่  3




ประวัติกีฬาลีลาศ


                 กีฬาลีลาศ (Ballroom Dance) คือ กีฬาชนิดหนึ่งที่เน้นความสวยงามพริ้วไหวของผู้เต้น ตามจังหวะต่าง ๆ การลีลาศเป็นกิจกรรมการบันเทิงที่ถือกำเนิดจากความต้องการของการร้องรำทำเพลงเพื่อแสดงออกซึ่งความสนุกสนานรื่นเริงอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขึ้นในยุโรปประมาณศตวรรษที่ 15 และในสมันต่อมาการลีลาศแบบนี้ก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นแบบและจังหวะต่างๆ เช่น วอลซ์ แทงโก้ บีกินและอื่นๆ จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน



                  ในสมัยดึกดำบรรพ์ ชาวสปาร์ต้า จะฝึกกีฬา เช่น ชกมวยยิงธนูวิ่งขี่ม้า ล่าสัตว์ รวมการ เต้นรำ ส่วนชาวโรมันมีการเต้นรำเพื่อแสดงความกล้าหาญ ผู้ที่มีชื่อเสียงในการเต้นตำของโรมันคือ ซีซีโร (Cicero : 106 – 43 B.C.)  การเต้นรำแบบบอลรูม เริ่มตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ ซึ่งสมัยนั้นครั่งไคล้การเต้นรำที่เรียกว่าโวลต้า” (Volta) ซึ่งมีการจับคู่แบบวอลซ์ในปัจจุบัน การเต้นแบบโวลต้านั้นฝ่ายชายจะช่วยให้ฝ่ายหญิงกระโดดขึ้นในอากาศด้วย ซึ่งพระราชินีเอง ทรงพอพระทัยมาก เช็คสเปียร์ (Shakespeare : 1564 – 1616) อยู่ในกรุงลอนดอนหลายปี ได้กล่าวไว้ในบทละครเรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ ว่า มีการเต้นอีกอย่างเรียกว่า โคแรนโท หรือ โคแรนเท” (Courante) 
สมัยศตวรรษที่ 17 การเต้นรำมีแบบแผนมากขึ้น จอห์น วีเวอร์ และ จอห์น เพทฟอร์ด (John Weaver & John Playford) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เพลฟอร์ด ได้เขียนเกี่ยวกับการเต้นรำแบบเก่าของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมได้ถึง 900 แบบอย่างแซมมวล ไพปส์ (Samuel Pepys : 1632 – 1704) ได้เขียนบันทึกประจำวันในสมัยการปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ และได้บันทึกไว้เมื่อ ค.ศ.1662 ถึงงานราตรีสโมสร ซึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ทรงพาสุภาพสตรีออกเต้น “โคแรนโท” (Coranto) การเต้นรำได้แพร่เข้ามาประเทศฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเรียกเป็นสำเนียงฝรั่งเศสว่า คองเทร ดองเซ่ (Conterdanse) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงโปรดปรานมากและต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศอิตาลีและ สเปนการเต้นรำแบบบอลรูมในจังหวะวอลซ์ (Waltz) ได้เริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ. 1800 เป็นจังหวะที่นิยมกันมากในสมัยนั้นในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย (The Victorian Era : 1830 – 80) การไปงานราตรีสโมสร หนุ่มสาวจะไปเป็นคู่ๆ ต้องต่างคนต่างไป และฝ่ายชายจะขอลีลาศกับหญิงคนเดิมมากกว่า ครั้ง ไม่ได้ หญิงโสดก็จะต้องมีพี่เลี้ยงไปด้วย ฝ่ายหญิงจะมีบัตรเล็กๆ สีขาว จดบันทึกไว้ว่า เพลงใดมีชายขอจองลีลาศไว้บ้าง
ในศตวรรษที่ 20 นิโกรในอเมริกา มีบทบาทมากทางด้านดนตรี และลีลาต่างๆ ในนิวออร์ลีน มีการเล่นดนตรีแบบพื้นเมืองของอาฟริกา ตอนแรกเรียกว่าจังหวะ (Syncopation) มีท่วงทำนองเร้าใจ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแจ๊ส (Jazz Age) สมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ ใหม่ๆ ดนตรีจังหวะนี้ก็เข้ามาแพร่หลายในอังกฤษ พร้อมๆ กันนั้นก็มีจังหวะพื้นเมืองอีกจังหวะหนึ่งมาจากอเมริกาใต้ คือ จังหวะแทงโก (Tango) ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของพวกคาวบอยในอาร์เยนตินา ยุคนั้นเรียกว่า แร็กโทม์ (Rag – Time) ซึ่งการเต้นไม่มีกฏเกณฑ์อะไร
                  ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1929 มีครูลีลาศในอังกฤษรวมกันเป็นคณะกรรมการปรับปรุงการลีลาสแบบบอลรูมขึ้นมาเป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมควิกวอลซ์ด้วยจะเป็น จังหวะ) ถือว่าเป็นแบบฉบับของชาวอังกฤษ คือ วอลซ์ (Waltz) ควิกสเต็ป (Quickstep) แทงโก (Tango) และ ฟอกซ์ทรอต (Fox-trot) 
เนื่องจากอิทธิพลของยุคแจ๊ส (Jazz Age) ก็ได้เกิดการลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจัดไว้เป็นมาตรฐาน 4จังหวะ (ถ้ารวมพาโซโดเบิ้ล ก็จะเป็น จังหวะ) คือ รัมบ้า (Rumba) ชา ชา ช่า (Cha – Cha – Cha) แซมบ้า (Samba) และไจว์ฟ (Jive) โดยคัดเลือกจากการลีลาศประจำชาติต่างๆ เช่น แซมบ้าจากบราซิล รัมบ้าจากคิวบา พาโซโดเบิ้ลจากสเปน และไจว์ฟจากอเมริกา

ประวัติกีฬาลีลาศในประเทศไทย 


                       
                       การลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัด แต่จากบันทึกของแหม่มแอนนา ทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า เมืองไทยมีลีลาศมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และบุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกก็คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามบันทึกของแหม่มแอนนาเล่าว่า ในช่วงหนึ่งของการสนทนาได้พูดถึงการเต้นรำ ซึ่งแหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักการเต้นรำแบบสุภาพ ซึ่งเป็นที่นิยมของชาติตะวันตก พร้อมกับแสดงท่า และบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก มักนิยมเต้นกันในวังยุโรป ซึ่งพระองค์ท่านก็ฟังอยู่เฉยๆ ไม่ออกความเห็นใดๆ แต่พอแหม่มแอนนาแสดงท่า พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไปแขนต้องวางให้ถูก และ พระองค์ท่านก็เต้นให้ดู จนแหม่มแอนนาถึงกับงง จึงทูลถามว่าใครเป็นคนสอนให้พระองค์ ท่านก็ไม่ตอบจึงไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ สันนิษฐานกันว่าพระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เองในสมัยรัชกาลที่ 5 การเต้นรำยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก คงมีแต่เจ้านายในวังที่เต้นกัน ส่วนใหญ่มักจะเต้นจังหวะวอลซ์เพียงอย่างเดียว และบางครั้งได้มีการนำเอาจังหวะวอลซ์ไปสอดแทรกในการแสดงละครด้วย เช่น เรื่องพระอภัยมณี ตอนที่กล่าวถึงนางละเวงได้กับพระอภัยมณี ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทุกๆ ปีในงานเฉลิมพระชนมพรรษาก็มักจะจัดให้มีการเต้นรำกันใน พระบรมมหาราชวัง โดยมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งบรรดาทูตานุทูตทั้งหลายต้องเข้าเฝ้า ส่วนแขกที่ชิญนั้นต้องได้รับบัตรเชิญจึงจะเข้าไปในงานได้ 

                      ในสมัยรัชกาลที่ 7 การเต้นรำได้รับความนิยมมากขึ้น ได้เปิดให้มีการเต้นกันตามสถานที่ต่างๆกันมาก เช่น ที่ห้อยเทียนเหลา เก้าชั้น โลลิต้า และคาร์เธ่ย์
ในพุทธศักราช 2475 หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรวรรณ กับนายหยิบ ณ นคร ได้ปรึกษากันและจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวกับการเต้นรำขึ้น ชื่อ “ สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ” โดยมีหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ เป็นประธาน นายหยิบ ณ นคร เป็นเลขาธิการสมาคม และมีคณะกรรมการอีกหลายท่าน เช่น หลวงเฉลิม สุนทรกาญจน์ นายแพทย์เติม บุนนาค พระยาปกิตกลสาร พระยาวิชิตหลวงสุขุม นัยประดิษฐ์ หลวงชาติตระการโกศล สถานที่ตั้งสมาคมนั้นไม่แน่นนอนคือวนเวียนไปตามบ้านสมาชิกแล้วแต่สะดวก การตั้งเป็นสมาคมครั้งนี้ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นที่ถูกต้องแต่อย่างใด สมาชิกส่วนมากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งได้พาบุตรหรือบุตรีเข้าฝึกหัดด้วย ทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มักจัดให้มีงานเต้นรำขึ้นบ่อยๆ ที่สมาคมคณะราษฎร์ วังสราญรมย์ และได้จัดแข่งขันการเต้นรำขึ้นครั้งแรกที่วังสราญรมย์นี้ ผู้ชนะเลิศเป็นแชมเปี้ยนคือ พลเรือตรีเฉียบ แสงชูโต และคุณประนอม สุขุม
ในปี พ.ศ. 2476 นักศึกษากลุ่มหนึ่งเห็นว่า คำว่า “ เต้นรำ ” เมื่อผวนแล้วจะฟังไม่ไพเราะหู ดังนั้นหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ จึงบัญญัติศัพท์คำว่า “ลีลาศ” ขึ้นแทนคำว่า “เต้นรำ” นับแต่บัดนี้เป็นต้นมา ต่อมาสมาคมสมัครเล่นเต้นรำก็สลายตัวไปกลายเป็น “สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทย” โดยมีนายหยิบ ณ นคร เป็นผู้ประสานงานจนสามารถส่งนักลีลาศไปแข่งยังต่างประเทศได้ รวมทั้งให้การต้อนรับนักลีลาศชาวต่างชาติที่มาเยี่ยมหรือแสดงในเมืองไทย ในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ เข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้ด้วย จึงทำให้การลีลาศซบเซาไป
                      เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 วงการลีลาศของเมืองไทยก็เริ่มคึกคักมีชีวิตชีวาขึ้นดังเดิม มีโรงเรียนสอนลีลาศเปิดขึ้นหลายแห่ง โดยเฉพาะสาขาบอลรูมหรือ Modern Ballroom Branch อาจารย์ยอด บุรี ซึ่งไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษแล้วนำกลับมาเผยแพร่ใน เมืองไทย ทำให้การลีลาศซึ่ง ศาสตราจารย์ศุภชัย วานิชวัฒนา เป็นผู้นำอยู่ก่อนแล้วเจริญขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้มีบุคคลชั้นนำในการลีลาศประมาณ 10 ท่าน ซึ่งเคยเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น คุณกวี กรโกวิท , คุณอุไร โทณวนิก , คุณจำลอง มาณยมฑล คุณปัตตานะ เหมะสุจิ โดยมีนายแพทย์ประสบ วรมิศร์ เป็นผู้ประสานงานติดต่อพบปะปรึกษาหารือ และมีแนวความคิดจะรวมนักลีลาศทั้งหมดให้อยู่ในสมาคมเดียวกัน เพื่อเป็นการผนึกกำลังและช่วยกันปรับปรุงมาตรฐานการลีลาศทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ซึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกัน จึงมีการร่างระเบียบข้อบังคับขึ้นมา ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นสมาคมตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้อนุญาติให้จัดตั้ง “ สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย ” เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2491โดยมีหลวงประกอบนิติสาร เป็นนายกสมาคมคนแรก ปัจจุบันสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติ ด้วยประเทศหนึ่ง
หลังจากนั้นการลีลาศได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก มีการจัดตั้งสมาคมลีลาศขึ้น มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มขึ้น มีการจัดส่งนักกีฬาลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศ และจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติขึ้นในประเทศไทย ในสมัยจอมพลสฤษณ์ ธนะรัตต์ ได้ให้เรียนสอนลีลาศต่างๆ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และมีการกำหนดหลักสูตรลีลาศขึ้นอย่างเป็นแบบแผน มีสถาบันที่เปิดสอนลีลาศเกิดขึ้นเกือบทุกจังหวัด ปัจจุบันมีหลักสูตรการสอนลีลาศในสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา 



การจับคู่ลีลาศ (The Hold)

การจับคู่ลีลาศ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ฝึก ลีลาศจะต้องทราบ และให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าจับคู่ไม่ถูกต้องตามแบบแผน นอกจากจะทำให้ขาดความสง่างามแล้ว ยังเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการนำ (Lead) และการตาม (Follow) เพราะจะทำให้เสียการทรงตัวและการก้าวเท้าของคู่ลีลาศไม่สอดคล้องสัมพันธ์กัน หรืออาจทำให้เหยียบเท้ากันได้ ดังนั้นการจับคู่ลีลาศที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการลีลาศ โดยเฉพาะผู้ชายจะต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ถูกต้อง โดยปกติ ท่าเริ่มต้นในการจับคู่ลีลาศแทบทุกจังหวะ จะจับคู่แบบบอลรูมปิด (Closed ballroom) ได้แก่ จังหวะวอลซ์ (Waltz)จังหวะควิกสเต็ป (Quick Step) จังหวะชา ชา ช่า (Cha Cha Cha) และจังหวะบีกิน (beguine) แต่เมื่อคู่ลีลาศออกลวดลาย (Figure) ต่างๆแล้ว การจับคู่ลีลาศจะเปลี่ยนไปเป็นแบบอื่นตามลวดลายของจังหวะนั้นๆ มีเพียงบางจังหวะที่จับคู่ลีลาศตอนเริ่มต้นแตกต่างออกไป ได้แก่ จังหวะแทงโก้ (Tango)จังหวะไจฟว์ (Jive) และจังหวะร็อคแอนด์โรล (Rock and Roll) เป็นต้น 


ประเภทของลีลาศ
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.ประเภทบอลรูม (Ballroom) มีลักษณะการเต้นเต็มไปด้วยความอ่อนหวานลำตัวตั้งตรง ผึ่งผาย ไม่โยกหรือส่ายสะโพกมาก ประกอบไปด้วย 5 จังหวะ คือ
ü วอลทช์ (Waltz)
ü แทงโก้ (Tango)
ü สโลว์ฟอกซ์ทรอท (Slow Fox Trot)
ü ควิกสเตป (Quick Step)
ü ควิกวอลทซ์ (Quick Waltz)

2. ประเภทลาตินอเมริกัน (Latin American) มีลักษณะการเต้นที่มีการเคลื่อนไหว ลำตัวมาก โดยมากจะใช้สะโพก เอว เข่า และข้อเท้าเป็นสำคัญ ประกอบด้วย 5 จังหวะ คือ
ü ช่า ช่า ช่า ( Cha Cha Cha )
ü คิวบันรุมบ้า (Cuban Rumba)
ü แซมบ้า (Samba)
ü ไจฟว์ (Jive)
ü พาโชโดเปล

3. ประเภทเบ็ดเตล็ดต่างๆ ลักษณะการเต้นเป็นจังหวะที่ไม่ช้าไม่เร็วจนเกินไป เป็นที่นิยมเต้นกันในประเทศไทยมาก ประกอบไปด้วย
ü กัวราช่า ( Guaracha )
ü รุมบ้า (American Rumba)
ü บีกิน (Beguine)
ü ตะลุง



มารยาทในการลีลาศ
1. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือขบเคี้ยวของขณะลีลาศ
2. ต้องลีลาศไปตามทิศทางที่ถูกต้อง
3. ควรแต่งกายให้ถูกต้องตามกาละเทศะ
4. ให้ความสนใจคู่ลีลาศของตน
5. ไม่แสดงความเบื่อหน่ายคู่ลีลาศของตน
6. อย่าแสดงความสนใจคู่ลีลาศอื่น
7. หากมีความจำเป็นต้องพูดคุยกับผู้อื่นในขณะลีลาศ ควรแนะนำคู่ลีลาศของตนให้รู้จักด้วย
8. ไม่ร้องเพลงคลอเสียงดนตรีขณะลีลาศ
9. ถ้าจะเปลี่ยนคู่ลีลาศ ควรพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย
10. ไม่สอนลวดลายใหม่ขณะที่ลีลาศอยู่บนฟลอร์
11. การลีลาศโดยไม่จับคู่ถือว่าไม่สุภาพ
v ·มารยาทในการลีลาศของสุภาพบุรุษ
1. ไม่ควรยืนข้างฟลอร์เฉยๆ
2. ไม่ตัดคู่ขอลีลาศกับสุภาพสตรีที่กำลังลีลาศอยู่ เมื่อยังมีสตรีอื่นไม่ได้ออกลีลาศ
3. ควรเดินนำหน้าเพื่อขอทาง โดยยื่นมืออีกข้างให้สุภาพสตรีจับถ้าฟลอร์แน่น
4. เมื่อจบเพลงควรเดินตามไปส่งให้ถึงที่นั่ง พร้อมกับกล่าวขอบคุณ
5. ไม่ควรนำลีลาศในลวดลายที่ยาก
6. ถ้าจะขอลีลาศกับสุภาพสตรีอื่น ต้องขออนุญาตคู่ลีลาศของเขาก่อน และให้สุภาพสตรีพอใจที่จะลีลาศด้วย
v มารยาทในการลีลาศของสุภาพสตรี
1. พยายามเป็นผู้ตาม
2. รับการขอลีลาศจากสุภาพบุรุษเสมอ
3. กล่าวรับคำขอบคุณของสุภาพบุรุษอย่างสุภาพ
4. เมื่อปฏิเสธการลีลาศจากสุภาพบุรุษคนหนึ่งแล้ว ไม่ควรออกลีลาศกับสุภาพบุรุษอื่นในจังหวะนั้น


ประโยชน์ของลีลาศ
1. ช่วยสร้างเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์ เพราะเป็นการออกกำลังกาย
2. เป็นกิจกรรมที่ทั้งชายและหญิงเข้าร่วมพร้อมๆ กันได้
3. เป็นกิจกรรมที่ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องทางกาย ทั้งยังช่วยสร้างเสริมทรวดทรง ท่าทางและมารยาท
4. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
5. ช่วยให้เข้าสังคมได้ดี
6. ช่วยให้ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นกิจกรรมนันทนาการ
7. ช่วยให้ลดน้ำหนักได้ด้วยความสามารถ


ตัวอย่างวีดีโอเต้นลีลาศแบบแซมบ้า


อ้างอิงจาก www.youtube.com
http://www.sjt.ac.th/PE/socialdance.htm
http://hilight.kapook.com/view/71743
http://rujirek-petpimolmat.blogspot.com/2011/05/blog-post_28.html